เมนู

[384] ธรรม 2 อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
ธรรมใดเป็นเหตุ และเป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมอง แห่งสัตว์ทั้งหลาย
ธรรมใดเป็นเหตุ และเป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
ธรรม 2 อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
[385] ธรรม 2 อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ญาณ
2 คือ ญาณในความสิ้น ญาณในความไม่เกิด. ธรรม 2 อย่างเหล่านี้
ควรให้เกิดขึ้น.
[386] ธรรม 2 อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ 2 คือ
สังขตธาตุ และอสังขตธาตุ. ธรรม 2 อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[387] ธรรม 2 อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. คือ วิชชา
และวิมุติ. ธรรม 2 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม 2 อย่างเหล่านี้
จริงแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้ชอบแล้ว
ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมหมวด 3



[388] ธรรม 3 อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม 3 อย่าง ควรเจริญ
ธรรม 3 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 3 อย่าง ควรละ ธรรม 3 อย่าง
เป็นในส่วนข้างเสื่อม ธรรม 3 อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม 3 อย่าง
แทงตลอดได้ยาก ธรรม 3 อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม 3 อย่าง ควรรู้ยิ่ง
ธรรม 3 อย่าง ควรทำให้แจ้ง.

[389] ธรรม 3 อย่างมีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ การคบ
คนดี การฟังธรรม การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ธรรม 3 อย่าง
เหล่านี้มีอุปการะมาก.
[390] ธรรม 3 อย่างควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สมาธิ 3 คือ
สมาธิมีวิตก มีวิจาร สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร.
ธรรม 3 อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[391] ธรรม 3 อย่างควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ เวทนา
3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. ธรรม 3 อย่างเหล่านี้
ควรกำหนดรู้.
[392] ธรรม 3 อย่างควรละเป็นไหน. ได้แก่ ตัณหา 3 คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ธรรม 3 อย่างเหล่านี้ควรละ.
[393] ธรรม 3 อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
อกุศลมล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ. ธรรม 3 อย่างเหล่านี้ เป็นไป
ในส่วนข้างเสื่อม.
[394] ธรรม 3 อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
กุศลมูล 3 คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ. ธรรม 3 อย่างเหล่านี้ เป็นไป
ในส่วนวิเศษ.
[395] ธรรม 3 อย่างแทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ
อันเป็นที่ตั้งแห่งการสลัดออก 3 คือ เนกขัมมะ เป็นที่สลัดออกของกาม
อรูปเป็นที่สลัดออกของรูป นิโรธเป็นที่สลักออกของสิ่งที่เกิดแล้ว สิ่งที่
ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเกิดแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง. ธรรม 3 อย่างเหล่านี้
แทงตลอดได้ยาก.

[396] ธรรม 3 อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ญาณ 3
คือ อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปปันนังสญาณ. ธรรม 3 อย่าง
เหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น.
[397] ธรรม 3 อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ 3 คือ
กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ. ธรรม 3 อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง.
[398] ธรรม 3 อย่างควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ วิชชา
3 คือ วิชชาคือความรู้ระลึกถึงชาติก่อนได้ วิชชาคือความรู้จุติและอุปบัติ
ของสัตว์ทั้งหลาย วิชชาคือความรู้ในความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย. ธรรม
3 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม 3 อย่างเหล่านี้ จริง แท้
แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ
ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมหมวด 4



[399] ธรรม 4 อย่างมีอุปการะมาก ธรรม 4 อย่างควรเจริญ
ธรรม 4 อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม 4 อย่างควรละ ธรรม 4 อย่างเป็น
ไปในส่วนข้างเสื่อม. ธรรม 4 อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม 4 อย่าง
แทงตลอดได้ยาก ธรรม 4 อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม 4 อย่างควรรู้ยิ่ง
ธรรม 4 อย่างควรทำให้แจ้ง.
[400] ธรรม 4 อย่างมีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ จักร 4
คือการอยู่ในประเทศอันสมควร เข้าหาสัตบุรุษ ตั้งตนไว้ชอบ ความเป็น
ผู้ทำบุญไว้ในก่อน. ธรรม 4 อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.